วิทยากร Upskill for Implant Success 2020-11-13T12:11:20+00:00

Upskill for Implant Success

23 – 24 พฤศจิกายน 2563
ณ โรงแรมพูลแมน ราชาออคิด จ.ขอนแก่น

Personal Profile
Working as a full time private practice at IN-ON Dental Clinic. Also work as special lecturer in Faculty of dentistry, KKU

Education and Qualifications
2013 DDS. Khon Kaen University, Thailand.
2017 MSc in Prosthodontics Khon Kaen University, Thailand.
Currently CMU Presidential Schoolarship Phd. student Oral Science Chiangmai University, Thailand

Work Experience
2013-2014 General practice at Kasetwisai hospital, Roi Et
2013-current: full time Prosthodontist at IN-ON Dental Clinic, Khon Kaen
2014-current: Special lecturer, Department of Prosthetics denistry, Faculty of Dentistry, Khon Kaen University.

ในปัจจุบันการรักษาทันตกรรมรากเทียมมีอัตราความสำเร็จในการปลูกรากเทียมและมีการประสานตัวกับกระดูกสูงมาก โดยเฉลี่ยร้อยละ 95-97 % แต่ทว่าการเกิด complication ภายหลังจาก delivery prosthesis สามารถเกิดกับผู้ป่วยถึงร้อยละ 33.6 โดย complication ที่มักพบได้บ่อยในงาน implant supported single crown นั้นก็คือ were screw or abutment loosening (12.7%), bone loss exceeding 2 mm (6.3%), ceramic or veneer fractures (4.5%) และ implant fracture 3% หากสังเกตจาก complication ดังกล่าวจะพบได้ว่าต้นเหตุนั้นเกิดมาจากเหตุผลทาง Mechanical ทั้งสิ้น

ทันตแพทย์นั้นมีองค์ความรู้ด้าน Oral Biology ที่รอบด้าน แต่ทว่าความเข้าใจและความรู้ทางด้าน Biomechanical โดยเฉพาะในงานรากเทียมนั้น ยังไม่มีสอนในโรงเรียนทันตแพทย์อย่างแพร่หลาย หากทันตแพทย์ต้องการ Up skill เพื่อป้องกันการเกิด complication ในงานรากเทียมแล้ว ความรู้ความเข้าใจด้าน Biomechanical เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญและจะขาดไม่ได้เลย ซึ่งจุดเริ่มต้นที่ควรทราบคือ กลศาสตร์ของแรงที่ส่งผ่านการบดเคี้ยวมาสู่รากเทียมที่อยู่ในช่องปาก ภายหลังจากแรงผ่านเข้ามาในรากเทียมแล้ว แรงต่างๆที่เกิดขึ้นจะสามารถทำให้เกิดสภาวะต่างๆต่อกระดูกโดยรอบ หรือส่วนประกอบต่างๆของการบูรณะ ไม่ว่าจะเป็น ครอบฟัน สกรูยึดรากเทียม เป็นต้น นอกจากนี้ความแตกต่างของรากเทียม และรากฟันจริง ยังตอบสนองต่อแรงบดเคี้ยวที่แตกต่างกัน องค์ความรู้เหล่านี้ล้วนน่าสนใจทั้งสิ้น ดังนั้นกระผมจึงใคร่ขอนำเสนอการบรรยายในหัวข้อเรื่อง BioMechanics in Dental Implant. The Key of Future Success.

Associate Professor Pattapon Asvanund, DDS, MSD, CAGS (Prosthodontics), PhD. Diplomate, Thai Board of Prosthodontics.
Current Position: General Secretary, Royal College of Dental Surgeons of Thailand

PhD. Clinical Sciences Mahidol University, Thailand 2007
Diplomate Prosthodontics Thai Dental Council 2002
MSD. Prosthodontics (Biomaterials) Boston University, USA 1996
CAGS. Prosthodontics Boston University, USA 1994
DDS. Doctor of Dental Surgery Mahidol University 1991

Research Interesting topics
1. Biomechanics of implant dentistry
2. Bone regeneration in implant dentistry

The mean age of candidates for dental implant patients is generally increasing due to the growing life expectancy. When planning implant surgery in elderly patients, two important aspects must be considered -minimize morbidity and -medical condition risk factors. These aspects often reduce the
resilience of patients and lead to increased risk of complications after implant surgery. This presentation focus on strategic approach in elderly patients to minimize the related morbidity without compromising the treatment outcome. Short and reduced-diameter implants are now utilized
much more often than a decade ago. Modern three-dimensional cone beam computed tomography imaging is often indicated in order to plan minimally invasive implant surgery. Computer-assisted implant surgery might allow flapless implant surgery, which offers a low level of postoperative morbidity and a minimal risk of postsurgical bleeding and has become a highly attractive surgical approach in terms of minimal invasiveness. Implant restorations for elderly patients should be designed to fulfil both functional and esthetic requirement. The designs should be able to modify to become low-maintenance prostheses, as a strategy to provide accessibility for facilitate hygiene maintenance and comfort in the final stage of life.
ทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
ประกาศนียบัตรการแพทย์คลินิก ทันตกรรมหัตถการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประกาศนียบัตรรากฟันเทียม รพ.เวชธานี
ICOI fellowship
เป็นที่ทราบกันดีว่าการทำรากฟันเทียมทดแทนฟันหน้าที่สูญเสียไปนั้น มีความเสี่ยงสูง มีหลายขั้นตอนและค่อนข้างยุ่งยาก แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะนอกจากจะต้องการการยึดติดของรากฟันเทียมในกระดูกขากรรไกรแล้ว ยังต้องมีเหงือกที่สวยงามแลดูเป็นธรรมชาติอีกด้วย ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษานั้นจะต้องเผชิญกับความคาดหวังของผู้ป่วย จึงจำเป็นจะต้องมีทักษะความชำนาญ ความรู้และการประเมินแผนการรักษา บทบรรยายครั้งนี้จะกล่าวถึงขั้นตอนในการรักษารากฟันเทียมในฟันหน้าอย่างไรให้สวยทั้งเหงือกรอบๆรากฟันเทียมและครอบฟันที่สวยงามตามความต้องการของผู้ป่วย

Education
1. Doctor of Dental Surgery, Chulalongkorn University (Bangkok, Thailand 2005)
2. Graduate diploma in clinical sciences degree in oral surgery, Chulalongkorn University (Bangkok, Thailand 2006)
3. Doctor of philosophy in dental science, Tokyo Medical and Dental University (Tokyo, Japan 2011)
4. Visiting scholar in oral and maxillofacial surgery training, University of California, Los Angeles (Los Angeles, CA, USA 2012)
5. Thai Board in oral and maxillofacial surgery, (Chulalongkorn University ,Bangkok, Thailand 2014)

Osseointegration is a key success for dental implant treatment. Factors related to osseointegration such as bone and soft tissue healing consequently play an important role in implant success. Moreover, proper soft tissue support and angiogenesis are essential for bone healing and ossseointegration. Since alveolar bone resorption after tooth lost continues subsequently, ridge preservation and bone regeneration are topic of interest.To preserve alveolar ridge dimension for implant placement, related factors including cells, growth factors, enzyme, transcription factors and scaffold was developed in various studies and used clinically for bone regeneration and osseointegration. In this talk, the factor related bone healing, osseointegration and tissue engineering and novel studies related tissue engineering will be discussed and clinically integrated to create higher success of dental implant treatment.

Osseointegration คือหลักสำคัญที่จะทำให้เกิดความสำเร็จของรากเทียม ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการหายของsoft tissue หรือเนื้อเยื่ออ่อน และการหายของกระดูกจึงมีผลสำคัญต่อความสำเร็จของรากเทียมทั้งสิ้น นอกจากนี้ ความสมบูรณ์ของ soft tissue หรือเนื้อเยื่ออ่อนรวมทั้งการสร้างเส้นเลือดก็พบว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการหายของกระดูกรอบรากเทียม หลังจากที่มีการสูญเสียฟัน กระดูกเบ้าฟันจะมีการละลายอย่างต่อเนื่อง จึงมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการหายและการคงอยู่ของกระดูกเบ้าฟันหลังถอนฟัน ปัจจัยต่างๆนี้รวมถึง เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการหายกระดูก, growth factors, enzyme , transcription factors และ scaffold และถูกนำมาใช้ทางคลินิกเพื่อพัฒนางานรากเทียมด้วย การนำเสนอนี้ จึงจะกล่าวถึงปัจจัยที่มีผลต่อการหายของเนื้อเยื่อและกระดูกรวมทั้งการศึกษาใหม่ที่ศึกษาการสร้างและการหายของเนื้อเยื่อเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสำเร็จของรากเทียม

ประวัติการศึกษา
2559: ราชวิทยาลัยทันตแพทย์ อนุมัติบัตรผู้เชียวชาญ(สาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์)
2555: Doctor of Philosophy (Biomaterials) The University of Sydney
2551: Master of Dental Sciences (Prosthodontics) The University of Sydney
2545: ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สาขาวิชาการที่มีความชำนาญพิเศษ: Dental materials, Implantology, Prosthodontic dentistry

การนำรากเทียมเข้ามาใช้ร่วมกับฟันเทียมถอดได้ในผู้ป่วยไร้ฟันทั้งปากและผู้ป่วยไร้ฟันบางส่วน ช่วยเพิ่มการรองรับ เสถียรภาพและการยึดติดของฟันเทียม อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบดเคี้ยวและความพึงพอใจของผู้ป่วย ในฟันเทียมบางส่วนถอดได้การฝังรากฟันเทียมบริเวณสันเหงือกไร้ฟันทางด้านท้าย สามารถเปลี่ยนการจำแนกสันเหงือกไร้ฟันจากเคนเนดีประเภทที่ 1 หรือ 2 เป็นเคนเนดีประเภทที่ 3 ทำให้ช่วยลดแรงที่มากระทำต่อฟันหลักยึดและสันเหงือกไร้ฟันทางด้านท้าย อีกทั้งยังช่วยลดความเค้น และความเครียดที่เกิดขึ้นบริเวณฟันหลักยึด และอวัยวะปริทันต์ที่เหลืออยู่

กุญแจที่นำไปสู่ความสำเร็จของการใส่ฟันเทียมทั้งปากและฟันเทียมบางส่วนถอดได้ที่มีรากเทียมร่วมได้ถูกรวบรวมในการบรรยาย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการกระจายแรงของรากเทียม อวัยวะที่ให้การรองรับฟันเทียม ตำแหน่ง/จำนวนของรากเทียม การเอียงตัวของรากเทียม รูปแบบการให้แรงบนฟันเทียม การออกแบบฟันเทียมเมื่อใช้รากเทียมร่วม และการเลือกใช้สิ่งยึดติดที่เหมาะสมบนรากเทียม ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจถึงหลักการ แนวปฏิบัติ และขั้นตอนทางคลินิกในการนำรากเทียมเข้ามาใช้ร่วมกับฟันเทียมถอดได้อย่างเหมาะสม

Education
July 2002 Thai board in Oral and Maxillofacial Surgery Thai Dental Council, Thailand
March 2002 PhD in Dental Science Tokyo Medical and Dental University, Japan
March 2002 Certificate in Oral and Maxillofacial Surgery Training Tokyo Medical and Dental University, Japan
March 1996 Certificate in Oral and Maxillofacial Surgery Training Chulalongkorn University, Thailand
March 1993 Doctor of Dental Surgery (DDS) Chulalongkorn University, Thailand

การนำทางแบบไดนามิก (Dynamic navigation; DN) ถูกใช้ในทางการแพทย์หลายสาขาก่อนหน้านี้และเริ่มมีการนำมาใช้กับการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม มากขึ้น DN ช่วยให้ทันตแพทย์ผู้ผ่าตัดสามารถประเมินผู้ป่วย วางแผนตำแหน่งรากเทียม และทำการผ่าตัดรากเทียมในวันเดียวกันโดยลดระยะเวลา หรือลดค่าใช้จ่ายในการสร้างตัวนำในการฝัง (surgical stent) โดยทั่วไปขั้นตอนการทำงานของ DN มีดังนี้ (1) การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CBCT) (2) การวางแผนการรักษา (3) การปรับเทียบมาตรฐาน (calibration) และ (4) การฝังรากเทียมในตำแหน่งตามภาพ 3 มิติ บนหน้าจอการนำทางนอกช่องปาก (Virtual surgery) ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถช่วยลดระยะเวลา เพิ่มความแม่นยำ และเพิ่มความถูกต้องในตำแหน่งการฝังรากฟันเทียมได้

การฝังรากฟันเทียมอีกวิธีที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันเพื่อวางตำแหน่งรากฟันเทียมอย่างมีประสิทธิภาพแม่นยำและถูกต้องมาก คือ การผ่าตัดฝังรากเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ (static computer guided implant surgery) ซึ่งรวดเร็วกว่าวิธีฝังแบบดั้งเดิมอย่างเห็นได้ชัด โดยเทคโนโลยีที่ใช้กันทั่วไปในการผ่าตัดรากฟันเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การถ่ายภาพ 3 มิติในช่องปาก (Intraoral scanner) ร่วมกับภาพถ่ายเอ็กซเรย์ 3 มิติ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (CBCT) ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวางแผนการรักษาด้วยการผ่าตัดเฉพาะบุคคล และผลิต guided surgical stent ด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในชั้นตอนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมได้อย่างแม่นยำต่อไป

การทำ Live Surgery ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้เป็นการถ่ายทอดสดจากห้องผ่าตัด คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แสดงการฝังรากฟันเทียมด้วยวิธีการ 2 แบบ คือ วิธี Static digital guided surgery และ วิธี Dynamic Navigation เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบความแตกต่าง และเปรียบเทียบวิธีการฝังรากฟันเทียม ทั้ง 2 วิธี โดย วิธี Static จะใช้ข้อมูล CBCT ร่วมกับซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ออกแบบ

Education and Qualifications
1996 DDS. Khon Kaen University, Thailand.
2002 Diplomate Thai Board of Oral and Maxillofacial Surgery. FRCDT (OMFS)
2008 Grad.Dip.Clinical Science (Clinical epidemiology) Prince of Songkhla University, Thailand.

Work Experience
2007 – current: Assistant professor in Oral and Maxillofacial Surgery, Department of Oral &Maxillofacial Surgery, Faculty of Dentistry, Khon Kaen University.
1996 – 2006: Instructor in Oral and Maxillofacial Surgery, Department of Oral & Maxillofacial Surgery, Faculty of Dentistry, Khon Kaen University.
2008 – 2012: Assistant dean in Dental hospital affairs.
2015 – 2020: Head of Department of Oral and Maxillofacial Surgery

การนำทางแบบไดนามิก (Dynamic navigation; DN) ถูกใช้ในทางการแพทย์หลายสาขาก่อนหน้านี้และเริ่มมีการนำมาใช้กับการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม มากขึ้น DN ช่วยให้ทันตแพทย์ผู้ผ่าตัดสามารถประเมินผู้ป่วย วางแผนตำแหน่งรากเทียม และทำการผ่าตัดรากเทียมในวันเดียวกันโดยลดระยะเวลา หรือลดค่าใช้จ่ายในการสร้างตัวนำในการฝัง (surgical stent) โดยทั่วไปขั้นตอนการทำงานของ DN มีดังนี้ (1) การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CBCT) (2) การวางแผนการรักษา (3) การปรับเทียบมาตรฐาน (calibration) และ (4) การฝังรากเทียมในตำแหน่งตามภาพ 3 มิติ บนหน้าจอการนำทางนอกช่องปาก (Virtual surgery) ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถช่วยลดระยะเวลา เพิ่มความแม่นยำ และเพิ่มความถูกต้องในตำแหน่งการฝังรากฟันเทียมได้

การฝังรากฟันเทียมอีกวิธีที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันเพื่อวางตำแหน่งรากฟันเทียมอย่างมีประสิทธิภาพแม่นยำและถูกต้องมาก คือ การผ่าตัดฝังรากเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ (static computer guided implant surgery) ซึ่งรวดเร็วกว่าวิธีฝังแบบดั้งเดิมอย่างเห็นได้ชัด โดยเทคโนโลยีที่ใช้กันทั่วไปในการผ่าตัดรากฟันเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การถ่ายภาพ 3 มิติในช่องปาก (Intraoral scanner) ร่วมกับภาพถ่ายเอ็กซเรย์ 3 มิติ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (CBCT) ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวางแผนการรักษาด้วยการผ่าตัดเฉพาะบุคคล และผลิต guided surgical stent ด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในชั้นตอนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมได้อย่างแม่นยำต่อไป

การทำ Live Surgery ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้เป็นการถ่ายทอดสดจากห้องผ่าตัด คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แสดงการฝังรากฟันเทียมด้วยวิธีการ 2 แบบ คือ วิธี Static digital guided surgery และ วิธี Dynamic Navigation เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบความแตกต่าง และเปรียบเทียบวิธีการฝังรากฟันเทียม ทั้ง 2 วิธี โดย วิธี Static จะใช้ข้อมูล CBCT ร่วมกับซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ออกแบบ

Education and Qualifications
ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต ม.มหิดล 2532
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (ทันตกรรมประดิษฐ์) ม.มหิดล 2544
Ph.D. Maxillofacial Prosthetics, Tokyo Medical and Dental University, Tokyo, Japan 2008

Past Position
หัวหน้าฝ่ายทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 2532-2535
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น 2541-2544
หัวหน้าภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น 2559-2561

Present Position
ประธานหน่วยทันตกรรมพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น 2540-ปัจจุบัน
อาจารย์ประจำภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น 2535-ปัจจุบัน
หัวหน้าหน่วยฟื้นฟูใบหน้าและขากรรไกร โรงพยาบาลทันตกรรม ม.ขอนแก่น 2551-ปัจจุบัน

ปัจจุบันกระบวนการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์บนรากฟันเทียม มีทฤษฎีหลากหลายและมีการปรับเปลี่ยน ตั้งแต่ในยุคแรกเริ่มจนมาถึงปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสำเร็จและผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยรวมถึงเอื้อให้ทันตแพทย์สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น และมีอัตราความสำเร็จที่สูง

การรักษาด้วยรากเทียมด้วยระบบพื้นฐานดั้งเดิมถูกการทำงานด้วยระบบดิจิตัลเข้ามาผนวกผสานด้วย เพื่อทำให้การทำงานมีความง่ายขึ้นด้วยเทคโนโลยี แต่หลักการของการรักษายังคงมีรูปแบบและแบบแผนที่ชัดเจนและสอดคล้องกับวิธีปกติ หรือในบางกรณีมีการเปลี่ยนแปลงหลักการจากในยุคแรกๆ หรือในบางส่วนอาจมีข้อขัดแย้งที่สามารถเลือกใช้ได้ โดยแนวทางดังกล่าวมีการสนับสนุนด้วยงานวิจัย ผลการศึกษาต่างๆ ร่วมกับประสบการณ์ของทันตแพทย์ การวางแผนการปักรากฟันเทียมด้วยวิธีปกติดั้งเดิม มีการใช้การวางแผนซึ่งวิเคราะห์จากปริมาณกระดูกที่มีอยู่เป็นหลักและฝังรากฟันเทียมตามเนื้อเยื่อผู้ป่วย และวางแผนในส่วนครอบฟันหรือการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ส่วนบนให้สอดคล้องไปกับรากเทียมที่ฝัง ซึ่งพบว่าในแง่ทันตกรรมประดิษฐ์อาจพบกับปัญหาเกี่ยวกับการออกแบบครอบฟัน และเกิดความล้มเหลวหรือผลลบต่อรากเทียม เช่น การหลวมของ screw และการเกิดภาวะกระดูกสลายตัวรอบรากฟันเทียม ปัจจุบันจึงมีการเปลี่ยนแปลงให้เกิดทฤษฎี prosthetic driven implant planning concept โดยมีการออกแบบส่วนของ prosthesis ก่อนแล้วค่อยทำการออกแบบรากฟันเทียมให้สอดคล้องกับส่วนครอบฟัน เพื่อให้เกิดการกระจายแรงของการบดเคี้ยวที่ดี ไม่ออกนอกแนวแรงแกนฟัน รวมไปถึงช่วยลดปัญหาการสะสมของแรงที่กระดูกและส่งผลให้เกิดการสลายตัวของกระดูกตามมา

การทำการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์เองก็มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก จากเทคนิกการพิมพ์ปากด้วยวัสดุพิมพ์ แต่งขี้ผึ้งและหล่อแบบ มาเป็นการนำระบบดิจิตัลและเทคโนโลยีเข้ามามาช่วยทั้งในการออกแบบในการวางตำแหน่งรากฟันเทียมผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการสร้างแนวนำการปักรากฟันเทียมที่สามารถให้ผลลัพธ์ในการรักษาได้แม่นยำเนื่องจาก แนวนำช่วยในการระบุตำแหน่งแนวรากเทียมตลอดทุกขั้นตอนที่ใช้หัวกรอรวมไปถึงขั้นตอนการฝังรากฟันเทียม ทำให้ทิศทางและตำแหน่งของรากเทียมมีความแม่นยำตามที่ วางแผนไว้ รวมไปถึงกระบวนพิมพ์รากฟันเทียมซึ่งแต่เดิมใช้วัสดุพิมพ์ปากพิมพ์ออกมาโดยตรง ได้มีการพัฒนาในส่วนของการใช้ระบบดิจิตัลเข้ามาช่วยโดยการใช้ scan body ทำการจำลองตำแหน่งของรากเทียมในปากได้โดยตรงและออกแบบต่อในโปรแกรม CAD และกลึงชิ้นงานออกมาใส่ได้ ซึ่งแสดงถึงการก้าวเป็นยุค stoneless society ลดการเกิดขยะสิ้นเปลือง และเกิดผลลัพธ์ที่ดีและแม่นยำ ให้ความพึงพอใจแก่ทั้งทันตแพทย์และผู้ป่วย นับเป็นความท้าทายของการปรับเปลี่ยนและปรับตัวทางการรักษาจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ แนวคิดนี้ควรจะปรับเข้าหากันได้อย่างไรจึงเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่ง

– ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่งและเหรียญทอง) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
– วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ทันตกรรมประดิษฐ์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
– อาจารย์สาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปัจจุบันกระบวนการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์บนรากฟันเทียม มีทฤษฎีหลากหลายและมีการปรับเปลี่ยน ตั้งแต่ในยุคแรกเริ่มจนมาถึงปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสำเร็จและผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยรวมถึงเอื้อให้ทันตแพทย์สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น และมีอัตราความสำเร็จที่สูง

การรักษาด้วยรากเทียมด้วยระบบพื้นฐานดั้งเดิมถูกการทำงานด้วยระบบดิจิตัลเข้ามาผนวกผสานด้วย เพื่อทำให้การทำงานมีความง่ายขึ้นด้วยเทคโนโลยี แต่หลักการของการรักษายังคงมีรูปแบบและแบบแผนที่ชัดเจนและสอดคล้องกับวิธีปกติ หรือในบางกรณีมีการเปลี่ยนแปลงหลักการจากในยุคแรกๆ หรือในบางส่วนอาจมีข้อขัดแย้งที่สามารถเลือกใช้ได้ โดยแนวทางดังกล่าวมีการสนับสนุนด้วยงานวิจัย ผลการศึกษาต่างๆ ร่วมกับประสบการณ์ของทันตแพทย์ การวางแผนการปักรากฟันเทียมด้วยวิธีปกติดั้งเดิม มีการใช้การวางแผนซึ่งวิเคราะห์จากปริมาณกระดูกที่มีอยู่เป็นหลักและฝังรากฟันเทียมตามเนื้อเยื่อผู้ป่วย และวางแผนในส่วนครอบฟันหรือการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ส่วนบนให้สอดคล้องไปกับรากเทียมที่ฝัง ซึ่งพบว่าในแง่ทันตกรรมประดิษฐ์อาจพบกับปัญหาเกี่ยวกับการออกแบบครอบฟัน และเกิดความล้มเหลวหรือผลลบต่อรากเทียม เช่น การหลวมของ screw และการเกิดภาวะกระดูกสลายตัวรอบรากฟันเทียม ปัจจุบันจึงมีการเปลี่ยนแปลงให้เกิดทฤษฎี prosthetic driven implant planning concept โดยมีการออกแบบส่วนของ prosthesis ก่อนแล้วค่อยทำการออกแบบรากฟันเทียมให้สอดคล้องกับส่วนครอบฟัน เพื่อให้เกิดการกระจายแรงของการบดเคี้ยวที่ดี ไม่ออกนอกแนวแรงแกนฟัน รวมไปถึงช่วยลดปัญหาการสะสมของแรงที่กระดูกและส่งผลให้เกิดการสลายตัวของกระดูกตามมา

การทำการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์เองก็มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก จากเทคนิกการพิมพ์ปากด้วยวัสดุพิมพ์ แต่งขี้ผึ้งและหล่อแบบ มาเป็นการนำระบบดิจิตัลและเทคโนโลยีเข้ามามาช่วยทั้งในการออกแบบในการวางตำแหน่งรากฟันเทียมผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการสร้างแนวนำการปักรากฟันเทียมที่สามารถให้ผลลัพธ์ในการรักษาได้แม่นยำเนื่องจาก แนวนำช่วยในการระบุตำแหน่งแนวรากเทียมตลอดทุกขั้นตอนที่ใช้หัวกรอรวมไปถึงขั้นตอนการฝังรากฟันเทียม ทำให้ทิศทางและตำแหน่งของรากเทียมมีความแม่นยำตามที่ วางแผนไว้ รวมไปถึงกระบวนพิมพ์รากฟันเทียมซึ่งแต่เดิมใช้วัสดุพิมพ์ปากพิมพ์ออกมาโดยตรง ได้มีการพัฒนาในส่วนของการใช้ระบบดิจิตัลเข้ามาช่วยโดยการใช้ scan body ทำการจำลองตำแหน่งของรากเทียมในปากได้โดยตรงและออกแบบต่อในโปรแกรม CAD และกลึงชิ้นงานออกมาใส่ได้ ซึ่งแสดงถึงการก้าวเป็นยุค stoneless society ลดการเกิดขยะสิ้นเปลือง และเกิดผลลัพธ์ที่ดีและแม่นยำ ให้ความพึงพอใจแก่ทั้งทันตแพทย์และผู้ป่วย นับเป็นความท้าทายของการปรับเปลี่ยนและปรับตัวทางการรักษาจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ แนวคิดนี้ควรจะปรับเข้าหากันได้อย่างไรจึงเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่ง

Education and Qualifications
Doctor of Dental Surgery, Chulalongkorn University
Certificate in Implant Dentistry, Chulalongkorn University
Certificate in Esthetic Implant Dentistry, University of Bern, Switzerland
Master of Science (Prosthodontics), Chulalongkorn University
Certificate in Advance Implant Surgery, Chulalongkorn University
Doctor of Philosophy (Prosthodontics), Chulalongkorn University
Fellow, International College of Dentists, USA

ในปัจจุบันการใส่ฟันโดยการใช้รากฟันเทียมถือว่าเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จในการใส่ฟันตั้งแต่ฟันซี่เดียว ฟันหลายซี่ หรือการใส่ฟันทั้งปาก อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนหลังการรักษาก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอ โดยมีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น เทคนิคทางคลินิก คุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ หรือการวางแผนการรักษา โดยการวางแผนการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ที่เหมาะสมในแต่ละขั้นตอนจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการลดภาวะแทรกซ้อนหลังการรักษาด้วยรากเทียม

Education and Qualifications
2008: Doctor of Dental Surgery (DDS.), Chulalongkorn University, Thailand
2011: Higher Graduate Diploma in Clinical Science (Oral and Maxillofacial Surgery), Mahidol University, Thailand
2014: Higher Graduate Diploma in Clinical Science (Periodontology), Chulalongkorn University, Thailand
2016: Diplomated Thai Board of Periodontology, The Royal College of Dental Surgeons of Thailand (FRCDT)

การฝังรากฟันเทียมในตำแหน่งขากรรไกรบนด้านหลัง (posterior maxilla) อาศัยการวางแผนการรักษาที่เป็นขั้นตอน จากขั้นตอนการบูรณะฟันไปยังขั้นตอนศัลยกรรมเพื่อให้รากฟันเทียมถูกฝังอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ทั้งนี้การทำศัลยกรรมในตำแหน่งดังกล่าว อาจมีข้อจำกัดทางกายวิภาคที่ทำให้การฝังรากเทียม ไม่สามารถทำได้อย่างตรงไปตรงมา เนื่องจากภายหลังการสูญเสียฟัน สภาพกระดูกเบ้าฟันมีการละลายตัวร่วมกับ maxillary sinus floor มีการ pneumatized ตลอดจนความหนาแน่นของกระดูกบางรายอาจมีความโปร่งพรุน การฝังรากเทียมในตำแหน่ง posterior maxilla จึงต้องอาศัยศัลยกรรม sinus floor augmentation ร่วมด้วย ซึ่งศัลยกรรมนี้มีรายงานความสำเร็จมาอย่างยาวนานมากกกว่า 30 ปี และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนการรักษา เทคนิกการผ่าตัด เครื่องมืออุปกรณ์ ตลอดจน regenerative biomaterial ที่ช่วยให้ผลการรักษาได้ผลสำเร็จที่มากขึ้น ลดความบอบช้ำของผู้ป่วย และภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด การบรรยายนี้จะแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของศัลยกรรม Sinus floor augmentation ที่ช่วยให้ทันตแพทย์สามารถทำการรักษาได้อย่างถูกต้องปลอดภัย และรากเทียมมีผลสำเร็จที่มากขึ้น

ข้อมูลทั่วไป