Speaker TADI Annual Conference 2018

Speaker TADI Annual Conference 2018 2018-08-21T17:05:45+00:00

Gateway to Advanced Implant and Related Dentistry
Bangkok Dental Grand Sale

16 – 17 October 2018
Siam Paragon I Royal Paragon Hall I Bangkok I Thailand

Corporate Forum I 16 October 2018

Symposium I 16 October 2018

ที่ทำงาน พ.ศ. 2536 – ปัจจุบัน

คณะทันตแพทยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การศึกษาและวุฒิการศึกษา

– พ.ศ. 2536 ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต ม.เชียงใหม่
– พ.ศ. 2539 ป.บัณฑิต ศัลยศาสตร์ช่องปาก และแม็กซิลโลเฟเชียล จุฬาฯ
– พ.ศ. 2541 วุฒิบัตรทันตแพทย์ประจำบ้าน ศัลยศาสตร์ช่องปาก และแม็กซิลโลเฟเชียล จุฬาฯ
– พ.ศ. 2542 อนุมัตรบัตร ศัลยศาสตร์ช่องปาก และแม็กซิลโลเฟเชียล ทันตแพทยสภา

Dental implant เป็นวิธีใส่ฟันในช่องปากที่สามารถเลียนแบบ ฟันธรรมชาติ ได้ใกล้เคียงที่สุด แต่เป็นวิธีการใส่ฟันที่ทำให้เหมือน ธรรมชาติได้ยากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณฟันหน้า หรือ Esthetic zone ซึ่งต้องการความสวยงามและความเหมือนธรรมชาติมากที่สุด alveolar bone change หลังการสูญเสียฟัน หรือหลังการปลูกกระดูก ทดแทน ที่ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงขนาดของ กระดูกเบ้าฟันและเหงือก ไปพร้อมๆกันตลอดเวลา ดังนั้นบ่อยครั้งที่การทดแทนกระดูกและเหงือก ในขณะก่อน ขณะใส่ หรือหลังใส่รากเทียม ถึงแม้รากฟันเทียมจะสำเร็จ ในเรื่องการยึดติด และอยู่ในช่องปากได้ แต่ก็อาจพบปัญหาเรื่อง ความสวยงามตามมา

ปัญหาเรื่องความสวยงามหลังการใส่ฟันด้วยรากทียมมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่ปัญหาฟันดูยาวกว่าปกติ หรือปัญหาเหงือกร่นภายหลังการใส่ ไปซักระยะหนึ่ง ปัญหา buccal contour ไม่เพียงพอ และที่แก้ไขได้ยากที่สุด ก็คือ ปัญหา black triangle หรือไม่มี gingival papilla เป็นต้น การประเมินและวิเคราะห์ ถึงสาเหตุและการแก้ไข จะได้ถูกนำเสนอในครั้งนี้

Dr.Thiti Sirikrai obtained his dental degree from Chulalongkorn University in 1996, Certificate in Clinical Orthodontics, and Master of Science in Orthodontics from Saint Louis University, Missouri, USA in 2000. He has been a visiting lecturer in Biomechanics and Invisalign for Postgraduate Orthodontic students at Chulalongkorn University and Mahidol University in Bangkok since 2007

Dr.Thiti Sirikrai is a member of the American Association of Orthodontists and World Federation of Orthodontists. In 2002, he became an accredited Invisalign provider and obtained Diamond Provider status in 2014. Up til now he has completed more than 1,500 Invisalign teatments. Dr.Sirikrai is also and Invisalign Speaker and has conducted several Invisalign Certification courses and Study clubs in the Philippines, Vietnam, Indonesia, India, Thailand, Singapore and Hong Kong. Now Dr.Sirikrai serves as Associate Clinical Director at Thantakit International Dental Center, his family own private practice in Bangkok since 1945.

The combination of Clear Aligner Therapy with Restorative Dentistry is a very effective one-two punch that many dentists can offer within their own practices. With adequate training and appropriate case selection, dentists now have the skill to elevate their patients’ satisfaction in smile improvement with more predictable treatment outcomes. In this presentation, the speaker will share his experience in applying Invisalign Clear Aligner System to assist restorative works such as crown & bridges, ceramic veneers, as well as implant dentistry. Updates in Invisalign recent technology will also be discussed.
– 2524 ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– 2526 ปริญญาทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– 2542 อนุมัติบัตรสาขา ทันตกรรมทั่วไปจาก.ราชวิทยาลัยทันตแพทย์ / ทันตแพทยสภา
– 2549 ปริญญาโทศิลปะศาสตร์ (รัฐศาสตร์) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
– 2557 ประกาศนียบัตรหลักสูตรนักบริหารการแพทย์ และสาธารณสุขระดับสูง กระทรวงสาธารณสุข

ปัจจุบันการพัฒนาทางเทคโนโลยี่ก้าวหน้ามากการพัฒนาทางวิชาการ สาขาทันตกรรมก็เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ข่าวสารการเข้าถึงข้อมูลทาง โซเชียลมีเดียมากมายจนเป็นเรื่องธรรมดาเมื่อผู้รับบริการสามารถรู้มากขึ้น ความต้องการ การคาดหวังสูง ช่องทางการร้องเรียนหลากหลาย คดีจรรยาบรรณของทันตแพทยสภาก็ขยายเป็นเงาตามตัวมากมายสาขา รากเทียมกำลังเป็นที่นิยมของประชาชน การร้องเรียนก็มีมากขึ้น การบรรยายนี้จะยกกรณีร้องเรียนหลายกรณี ที่ผ่านการพิจารณาของ คณะกรรมการทันตแพทยสภาแล้ว ทำไมต้องร้องเรียน ผู้รับบริการ ต้องการอะไร ทันตแพทย์ผู้ให้การบริการดำเนินการแค่ไหน มีผลการวินิจฉัย และการลงโทษต่อทันตแพทย์ผู้กล่าวหาอย่างไร เป็นการวิเคราะห์กรณี ตัวอย่าง หวังเพื่อเป็นการป้องกันเหตุที่เกิดขึ้นอีก เป็นแนวทางป้องกัน การร้องเรียนทางจรรยาบรรณ ท้ายการบรรยายจะเป็นวิธีการปฏิบัติ เมื่อทันตแพทย์เกิดมีผู้รับบริการร้องเรียนส่งเรื่องมาที่ทันตแพทย์สภา จะทำอย่างไร สุภาษิต “กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้(เกรียม)” แล้ว ……“รู้ไว้ ใช่ว่า”……..

Symposium I 17 October 2018

Dr. Nikos Mattheos graduated from the Dental Faculty University of Athens. He completed his PhD degree in the University of Malmö, in Sweden where he also received specialist training in Periodontology. He has completed a 3-year residency with focus on Implant Dentistry and Fixed Prosthodontics in the department of Periodontology and Fixed Prosthodontics in the University of Bern, Switzerland under Professor N.P Lang. His research is disseminated through more than 90 publications in international peer reviewed journals and he has received the IADR researcher’s award in 2003 and 2013. He has served at the position of Associate Professor in the University of Malmo (Sweden) and Griffith University (Australia). He is currently Clinical Associate Professor in Implant Dentistry and Associate Dean for Postgraduate studies in the Faculty of Dentistry, the University of Hong Kong, where he directs two postgraduate programmes in Implant Dentistry and is active with teaching, research and patient care.

With osteointegration having achieved very high success rates, the focus of modern implant practice has increasingly been on the peri-implant soft tissue and the importance of its integrity for long term success of implant therapy. In addition, the high aesthetic demands of modern practice and the need to achieve natural and sustainable emergence profiles has placed even higher emphasis to the importance of soft tissues. In many cases, our ability to manipulate the soft tissues before, during or after the implant surgery might be critical in order to ensure the best possible outcomes in terms of health, aesthetics but also maintainability. Procedures aiming to the increase of the width of the keratinized mucosa or augmenting the volume of the peri implant tissues have been developed and should be among the armamentarium of modern implant practice when indicated.

At the same time, the evidence on the effectiveness or even the actual necessity of soft tissue augmentation techniques is still very limited, while the timing and design of the surgical implant placement as well as the loading protocols might have a significant impact on the soft tissue outcomes as well.

This seminar will focus in the importance of the soft tissue assessment as part of the comprehensive decision making in implant dentistry. We will discuss the anatomic and physiological conditions of the peri -implant soft tissues and the essential interactions with the implant design and prosthesis. We will then implement the management of peri implant tissues in the decision making about implant timing and loading protocols. Furthermore, we will review some of the most common techniques for soft tissue management, including soft tissue augmentation with connective tissue, free gingival or hybrid grafts and xenografts.

RESEARCH

My principal research interests lie in the field of dental implantology, tissue engineering, specializing in bone substitute and guided bone regeneration.

I am currently investigating the potential of prevascularized graft in bone tissue regeneration, soft tissue regeneration using bioengineered materials with or without incorporation of stem cells or growth factors.

EDUCATION

– 2012-2014 ITI Scholar Clinic of Fixed and Removable Prosthodontic& Dental Materials Science, Centre of Dental Medicine, University of Zurich.
– 2008-2012 PhD “Bioengineered bone graft for dental implant applications” MclinDent in Periodontology and Implant dentistry GCAP graduate certificated in Reconstructive dentistry King’s College London, Dental Institute
– 2002-2006 DDS Thammasat University, Best dental student research award

TEACHING EXPERIENCE

– 2017-now Course director of Master of Science program in Implant Dentistry
– 2016 Assistant Professor and Head of periodontics division
– 2014 Full time lecturer at Thammasat University, Thailand
– 2014 Honorary visiting lecturer at Dental Institute, King’s College London
– 2013 Clinical Lecturer/ Honorary Specialist Registrar (SpR) in Restorative Dentistry, Periodontology and implant dentistry at dental institute, King’s College London

Since the osseointegration concept was introduced by Professor Branemark 45 years ago, the dental implantology had become one of the most studied topics in dental medicine, with exponential growth in the number of implant placement in order to rehabilitate oral function of the patient. Nowadays many different efforts are focuses on simplifying surgical techniques with minimal invasive concepts to shortening treatment time for patient with less pain and morbidity. Immediate implant placement demonstrated to be one of therapeutic concept in the last decade. This can be explained by several advantages, such as single step surgery, shortened healing time with high patient satisfaction. In general, immediate implant placement can be performed with flap or flapless surgery with or without simultaneous bone augmentation. As the horizontal bone resorption can be expected following tooth extraction, additional of grafting material for guided bone regeneration (GBR) combining immediate implant placement maybe beneficial when compared to spontaneous healing.
ที่ทำงานปัจจุบัน

ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์   คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การศึกษาและวุฒิการศึกษา

– พ.ศ. 2557 อนุมัติบัตรทันตกรรมประดิษฐ์ ทันตแพทยสภา
– พ.ศ. 2543 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ทันตกรรมประดิษฐ์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– พ.ศ. 2545 นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
– พ.ศ. 2536 ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ในปัจจุบัน การบูรณะทดแทนฟันที่สูญเสียด้วยรากเทียมเป็นวิธีการหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยวัสดุที่ใช้ทำรากเทียมคือไทเทเนียมและโลหะผสม ไทเทเนียม เนื่องจากมีความเข้ากันได้ทางชีวภาพกับเนื้อเยื่อที่ดี มีสมบัติเชิงกล ที่เหมาะสม และมีรายงานการใช้งานทางคลินิกที่ประสบความสำเร็จสูง อย่างไรก็ตาม ข้อด้อยหนึ่งที่สำคัญของไทเทเนียมคือ สีเทาของโลหะที่ให้ความไม่สวยงามและ สามารถแสดงออกผ่านเหงือกที่มีลักษณะบางได้ โดยเฉพาะการบูรณะในฟันหน้า ที่ผู้ป่วยต้องการและคาดหวังความสวยงามสูง ด้วยข้อด้อยของไทเทเนียมนี้ การพัฒนารากเทียมที่มีสีใกล้เคียงฟันธรรมชาติจึงเกิดขึ้น วัสดุทางทันตกรรม ที่มีความสวยงามใกล้เคียงฟันธรรมชาติและแข็งแรงใกล้เคียงกับไทเทเนียมคือ เซรามิก โดยเซรามิกมีความเข้ากันได้ทางชีวภาพกับเนื้อเยื่อที่ดี ปลดปล่อยไอออน ออกมาน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับไทเทเนียม แผ่นคราบชีวภาพยึดเกาะน้อย และไม่ทำให้ผู้ป่วยแพ้ซึ่งกรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้เมื่อใช้รากเทียมไทเทเนียม ในปัจจุบัน เซรามิกประเภทหนึ่งที่มีความแข็งแรงสูงสามารถที่จะนำมาใช้ทำรากเทียมได้คือ เซอร์โคเนียเซรามิก เนื่องจากมีสมบัติทรานสฟอร์เมชันทัฟเฟนนิง (transformation toughening) จากการเปลี่ยนวัฏภาคเทเทระโกนัลเป็นมอโนคลินิก ที่มีปริมาตรเพิ่มขึ้นทำให้หยุดรอยร้าวที่เกิดขึ้นในเนื้อเซามิกได้ การบรรยายนี้ จะกล่าวถึงรากเทียมเซอร์โคเนียเซรามิก ในส่วนประวัติการนำเซรามิกมาใช้ในงาน รากเทียม สมบัติของเซอร์โคเนีย ระบบรากเทียมเซอร์โคเนีย รวมทั้ง การเปรียบเทียบระหว่างรากเทียมเซอร์โคเนียและไทเทเนียมว่า เซอร์โคเนียสามารถ นำมาใช้แทนไทเทเนียมได้หรือไม่ เพื่อการเลือกใช้ทางคลินิกต่อไป

CURRENT POSITION

Faculty of Dental Medicine, Rangsit University

EDUCATION

– DDS (first class honors), Chulalongkorn University
– Master of Science in Periodontics, Chulalongkorn University
– Certificate of Fellowship in Implant Dentistry, Loma Linda University, California, USA.
– Diplomate Thai Board of Periodontology

Peri-implant disease แบ่งได้เป็น peri-implant mucositis และ peri-implantitis ซึ่งจาก meta-analysis รอยโรครอบรากเทียมทั้งสองประเภท พบได้ประมาณ 43% และ 22% ตามลำดับ การรักษาในช่วงประมาณ 20 ปีมานี้ มีการนำ Cumulative Interceptive Supportive Therapy (CIST) protocol มาใช้เป็นแนวทางให้การรักษารอยโรครอบรากเทียมกันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยรากเทียมได้มีการพัฒนาและปรับปรุงวัสดุ หรือ การออกแบบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งแนวทางการรักษายังขาดความสอดคล้องกัน ระหว่างการศึกษาวิจัยทางสมาคมปริทันตวิทยาแห่งประเทศไทยร่วมกับคณาจารย์ จากมหาวิทยาลัยและสถาบันหลักต่างๆจึงได้นำงานวิจัยในระยะหลังมาวิเคราะห์และ สรุปเป็นแนวทางในการรักษา peri-implant disease ที่ทันตแพทย์สามารถนำไปใช้ ประกอบการรักษาได้ง่ายขึ้น

หัวข้อการบรรยายนี้จะครอบคลุมถึงการตรวจและวินิจฉัยรอยโรครอบ รากเทียม แนวทางการรักษาด้วย non-surgical และ surgical approach รวมทั้งการ recall และการดูแลรากเทียมหลังการบูรณะ

การศึกษาและวุฒิการศึกษา

– พ.ศ. 2535 แพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– พ.ศ. 2538 ผู้มีความรู้ความชำนาญทางด้านนิติเวชศาสตร์ แพทยสภา
– พ.ศ. 2538 นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
– พ.ศ. 2542 แพทยศาสตรศึกษามหาบัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยดันดี ประเทศสก็อตแลนด์ (โดยได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล)

การทำงาน

– อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยคณบดี ดูแลการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
– เคยเป็นผู้ช่วยคณบดี รับผิดชอบด้านการพัฒนาอาจารย์และการปรับหลักสูตรจากรูปแบบเดิมเป็นแบบ PBL
– เป็นอุปนายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย

ปัจจุบันกระแสนิยมในการดูแลสุขภาพช่องปาก และความสวยงามบริเวณ ใบหน้ามีเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งข้อมูลทางการรักษาต่างๆ บนสื่อออนไลน์หลาย ประเภทในปัจจุบันก็เข้าถึงได้ง่าย ทำให้ธุรกิจทางการแพทย์ของโลกมีการเคลื่อนไหว และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงส่งผลให้อัตราการแข่งขันในด้านธุรกิจของ สถานพยาบาลเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้น สถานพยาบาลเอกชนหลายแห่ง อาศัยการโฆษณา ผ่านสื่อแขนงต่างๆ มาเป็นจุดดึงดูดให้ผู้ป่วยเข้ารับบริการกับสถานพยาบาล ของตน โดยเฉพาะการโฆษณาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ทั้งทางเว็บไซต์, เฟซบุ๊ก, ไลน์ ฯลฯ ซึ่งสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว

เพื่อป้องปรามการกระทำผิด ขจัดภัยโฆษณาโอ้อวดเกินจริง และคุ้มครอง ประชาชนให้ได้รับบริการในด้านระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดภัย ตามที่มุ่งหวัง ฉะนั้น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวง สาธารณสุข หรือ กรม สบส. จึงได้ออกประกาศ เรื่อง “หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและค่าใช้จ่ายในการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล” โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา ส่งผลให้การโฆษณาหรือ ประกาศที่เกี่ยวกับสถานพยาบาลเอกชนจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนจึงเผยแพร่ได้ อาทิ การให้ส่วนลด หรือการจัดโปรโมชั่นแก่ผู้รับบริการทั่วไป โดยการขออนุมัติ จะต้องยื่นคำขอต่อผู้อนุญาต พร้อมด้วยข้อความ เสียงหรือภาพที่ใช้ใน การโฆษณาหรือประกาศ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ทันตแพทย์ควรทราบ และระมัดระวัง ในการโฆษณา หรือให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ แก่ผู้รับบริการผ่านสื่อต่างๆ

Dr. Montri has been involved with esthetic dentistry since he graduated from Chiang Mai University in 1980. One of the true pioneer in his field, he enjoys giving lectures extensively all over Thailand and Internationally especially in South East Asia, also appointed visiting lecturer in many leading universities. He is a Diplomate of the Thai Board of Operative Dentistry and member of the board examiner of The Royal College of Dental Surgeons of Thailand. He is now Esthetic Dentistry Specialist in Restorative Dentistry Post-Graduate study program and Implant Dentistry Post-Graduate study program Chiang Mai University. Apart from his academic background he also interesting in Photography and Dental Photography is his passion since 1995. Dr. Montri has his own private clinic in Chiang Mai specializes group practice in Esthetic Dentistry. (Updated: Aug/22nd/2017)

Moving Forward: Evidence- Experience- Excellence

Restoring smile to achieve a predictable esthetic to both clinician and patient is our ultimate goal. High-quality esthetic restorations that look great, function ideally, and last can only be produced through implement of proper management and teamwork. We as the dentists must have definitive workflow to achieve this goal. This lecture will show and demonstrate how to diagnose, predict and manage various esthetic challenges and provide optimal results in the esthetic zone.

Topics
– Success by design not by chance
– Dental Photography will make you a better dentist
– Digital Dentistry How it change our practice
– Digital Smile Design (DSD) a must for Esthetic dentist
– Diagnosing esthetic outcomes before you start.
– Predictable esthetic is the ultimate challenge
– Factors that compromise esthetic results.
– Understanding and applying the research clinically.
– Understanding how periodontal tissues effect esthetic results.
– Techniques for improving esthetic outcomes.
– Material selection
– Extensive case presentations and analysis

EDUCATION

– 2007 Doctor of Dental Surgery (1st Class Honor) Faculty of Dentistry, Mahidol University, Bangkok, Thailand
– 2015 Certificate of Advanced Graduate Study in Prosthodontics and Doctor of Science in Dentistry in Prosthodontics
Boston University Henry M. Goldman School of Dental Medicine, Boston, Massachusetts, USA

AWARDS AND HONORS

– June 2007 Best student Award in Operative Dentistry (AJ Amara Funding), Department of Operative Dentistry, Faculty of Dentistry Mahidol University
– August 2010 Scholarship from Ministry of Science and Technology, Thai Government, Thailand
– July 2015 David J. Baraban Award, outstanding resident in prosthodontics for exemplifying excellence in character and clinical proficiency, Boston University, USA

PROFESSIONAL EXPERIENCE

– 2007-present Instructor at Thammasat University Faculty of Dentistry, Pathumthani, Thailand.

การรักษาทางทันตกรรมรากเทียมในปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น ผู้ป่วย ในปัจจุบันมีความความหวังจากการรักษาสูงขึ้น ปัจจัยที่จะทำให้ผลสำเร็จ ของการรักษาเกิดขึ้นมีหลายปัจจัย การเลือกใช้วัสดุในกลุ่มเซรามิก เป็นทางเลือกที่สามารถช่วยทำให้ทันตแพทย์ทำการบูรณะฟันให้มีลักษณะ ใกล้เคียงกับธรรมชาติก่อนการสูญเสียฟันและกระดูกเบ้าฟันมากที่สุด ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่ทันตแพทย์ต้องการ ในการบรรยายนี้จะอธิบายแนะนำ ทำความรู้จักและการแบ่งประเภทของเซรามิกทางทันตกรรมที่มีอยู่มากมาย ให้เข้าใจง่ายขึ้น ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานไปจนการเลือกใช้เซรามิก ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง ข้อจำกัด รวมถึงการประยุกต์ใช้ในทางคลินิกสำหรับ งานทันตกรรมประดิษฐ์และทันตกรรมรากเทียม

การศึกษาและวุฒิการศึกษา

– พบ.คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล
– วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ ศิริราช
– วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ กระดูกสันหลัง รพ.เลิดสิน

ในโลกยุคดิจิตอล การลงทุน ถือเป็นช่องทางในการสร้างโอกาส ให้กับผู้สนใจ สมาคมจึงได้เชิญ นพ.รัชต์ชยุตม์ จีระพรประภา หรือ คุณหมอวิน ผู้คร่ำหวอด กับ การลงทุนมานานกว่า 10 ปี มาแนะนำเทคนิกต่างๆ ในการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ไปจนถึงเทคนิกการพิจารณากราฟการลงทุน ดูอย่างไร เพื่อให้การพิจารณาเลือกลงทุนให้เหมาะสม ประเมินสถานการณ์ ได้อย่างถูกต้อง